เอกสารวิชาการ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัยหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จากความจำเป็นของรัฐบาลที่ต้องใช้มาตรการปิดเมือง (Lockdown) เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา COVID-19 ในช่วงปี 2563-2564 ทำให้ต้องปิดสถานศึกษา เด็กไม่สามารถไปเรียนได้
ตามปกติ ต้องอยู่กับครอบครัว ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกรองตกอยู่ในภาวะตึงเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมความกังวลต่อโรคระบาด และไม่พร้อมดูแลลูกหลาน ในส่วนการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนเป็นแบบออนไลน์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งได้รับเพียง 10% เท่านั้น ส่งผลให้พัฒนาการของเด็กปฐมวัยหยุดชะงัก เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) หากไม่สามารถแก้ปัญหาการถดถอยตั้งแต่ปฐมวัยได้ จะส่งผลระยะยาว กระทบต่อคุณภาพพลเมือง และสภาพเศรษฐกิจสังคมของประเทศในอนาคต

คู่มือ ฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัยหลังโควิด (สำหรับ อสม.)

ปฐมวัยคือวัยรากฐานของชีวิต ถ้าช่วงปฐมวัยได้รับโอกาสพัฒนาที่่ดี ด้วยความรักผูกพัน ฝึกฝนปลูกฝังคุณลักษณะจนเป็นนิสัยสันดานที่สร้างสรรค์ ชีวิตที่่เหลือก็มีโอกาสเสียหายน้อยมากงานวิจัยชีไว้ว่าการลงทุนในเด็กปฐมวัย คุ้มค่าที่สุดสำหรับสังคม
แต่ประเทศของเรายังมีการลงทุนในเด็กปฐมวัยน้อยเกินไป ปัญหาจึงเกิดมากมาย กล่าวรวมๆ ได้ว่าพัฒนาการเด็กปฐมวัยของเราล่าช้าทุกด้านมานานนับสิบปี

ครั้นเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด การปิดสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยก็ยิ่งซ้ำเติม ทำให้พัฒนาการในภาพรวมถดถอยอย่างรุนแรงทุกด้าน ซึ่งคณะอนุุกรรมการด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งจึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ร่วมกันจัดเวทีวิชาการอย่างเข้มข้นถึง 6 เวที โดยการสนับสนุนของสำนักงานนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาเพื่อนำเข้าข้อมูลจากทุกแหล่งมาวิเคราะห์สังเคราะห์จัดทำข้อเสนอแนะที่่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้ง่าย

e-Book สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่

คลิกที่ภาพเพื่ออ่าน e-book  แบบออนไลน์

บทความ

Trending Articles

วิดีโอ ฟื้นฟูเด็กปฐมงัย

สถานการณ์เด็กปฐมวัย ก่อนและหลังโควิด-19 สำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ #สื่อเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการเด็กปฐมวัย

Learning Loss พฤติกรรมที่มองไม่เห็น ไม่ใช่แค่เรียนไม่ทัน แต่มันรุนแรงกว่าที่คิด โดย ผศ. ดร. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก และครอบครัว

เมื่อเกิดโควิด เด็กผ่านประสบการณ์เชิงลบยาวนานกว่า 2 ปี นั่นหมายความว่า สมองของเด็กปฐมวัยถูกยับยั้งการเจริญเติบโต ใยประสาทแตกหัก ไม่มีการสร้างวงจรเครือข่ายประสาทใหม่ๆ

โดยความร่วมมือของคณะอนุกรรมการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย

มูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูเด็กและครอบครัว(ฟอร์เด็ก)

เลขที่ 1035/7-10 อาคารบ้านฝันคอนโดวิลล์ ชั้น 1 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250