ความรุนแรง สื่อจอใสและความเครียดในเด็กปฐมวัย
เนื่องจากโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเป็นโลกยุคดิจิทัล ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเป็น Boundaryless Society หรือ “สังคมไร้พรมแดน” ที่ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเข้าถึงคนทั่วโลกได้โดยง่าย
Boundaryless Society นี้สื่อดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนอย่างมาก คนไทยในขณะนี้ใช้สื่อดิจิทัลกันมากในระดับที่ทุกคนมี Smart Phone ใช้กัน และไม่ใช่เพียงแค่คนในสังคมเมืองที่ใช้สื่อดิจิทัลอย่างแพร่หลาย กระทั่งสังคมชนบทก็ใช้กันมาก ที่สำคัญและเป็นปัญหาคือ ผลักดันให้เด็กใช้สื่อดิจิทัลตั้งแต่อายุ
ยังน้อย และใช้มาก โดยเฉพาะถ้าไม่มีวินัยในการใช้ด้วยแล้ว จะทำให้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน ในกลุ่มเด็กปฐมวัย (early childhood)
โครงการ “สื่อเพื่อฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่”
ประเภทโครงการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant)
ประเด็น : วิถีชีวิตใหม่ (New Normal) กับสังคมดิจิทัล
หลักการและเหตุผล
ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 นั้น สถานการณ์เด็กปฐมวัยในประเทศไทย ก็ตกอยู่ในช่วงวิกฤตหนักหน่วงมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รวมถึงรายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปี 2562 โดยคณะอนุกรรมการตรวจและประเมินผลภาคราชการกลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 ระบุว่า
เมื่อทั่วโลกตกอยู่ในวิกฤตโควิด 19 เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 ปี โดยเฉพาะมาตรการล็อคดาวน์นั้น ทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข เพราะไม่สามารถออกไปวิ่งเล่น พบปะผู้คน เพื่อเรียนรู้โลกตามธรรมชาติของพัฒนาการ ซ้ำร้ายต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สร้างความเครียดเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกมิติ ทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน คณะอุนกรรมการด้านสื่อ เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ระบุไว้ในข้อเสนอเชิงนโยบาย ปี พ.ศ. 2564 โดยวิเคราะห์ว่า เด็กปฐมวัยสูญเสียอะไรไปบ้างในช่วงโควิด 19
o เด็กสูญเสียวิถีชีวิตปกติ เด็กถูกบังคับให้อยู่ในที่จำกัด ถูกจำกัดการเรียนรู้และการรับบริการด้านสุขภาพ
o เด็กสูญเสียโอกาสในการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย : เข้าไม่ถึงโภชนาการที่ดี ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ได้ออกไปวิ่งเล่น การใส่หน้ากากอนามัยทำให้เด็กได้รับอากาศไม่เพียงพอ
อารมณ์จิตใจ : เด็กอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง มีผลกระทบต่อสมอง จากสาเหตุพ่อแม่เครียด รายได้ลดลงหรือขาดรายได้ เด็กรับรู้ได้ อาจมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การดุด่า ละเลยขาดการเอาใจใส่ดูแล
ภาษาและสังคม : เด็กไม่ได้ออกไปเล่นกับเพื่อน กิจกรรมต่างๆ หายไป ไม่ได้พบปะโลกภายนอก ขาดทักษะสังคม
สติปัญญา : เรียนผ่าน Online ขาดผู้ดูแล ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ตามวัย เด็กอยู่กับหน้าจอมือถือ โทรทัศน์ เสี่ยงติดจอ ติดเกม ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางภาษา
เด็กไทยมีระดับการพัฒนาเพียงร้อยละ 60
ของศักยภาพสูงสุดที่สามารถเป็นได้
สาเหตุสำคัญมาจาก ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ปัญหาครอบครัวเปราะบาง การศึกษาขาดคุณภาพ และภาวะโภชนาการที่ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง ด้วยสังคมและผู้เกี่ยวข้องยังไม่ตระหนักว่า “ปฐมวัย คือรากฐานของชีวิต” ความรู้สมัยใหม่ด้านประสาทวิทยา ชี้ชัดว่า การแตกแขนงของเส้นใยสมองที่เกิดจากประสบการณ์และการเลี้ยงดูในช่วงปฐมวัย จะกลายเป็นโครงสร้างเส้นใยในสมอง ที่กำหนดบุคลิกภาพของบุคคลนั้นไปตลอดชีวิต
จากข้อมูลข้างต้น จึงเป็นเหตุอันสมควรเร่งด่วนในการดำเนินงานสื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและสังคม รณรงค์ให้เกิดความตระหนัก หันมาเห็นความสำคัญ ความจำเป็น และสร้างค่านิยมใหม่ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อร่วมกันเร่งฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในชีวิตวิถีใหม่ หลังโควิด 19 ให้พร้อมเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศต่อไป
วัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์
- เพื่อสร้างสรรค์สื่อที่สร้างความตระหนัก และความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างวิถีชีวิตใหม่ในการฟื้นฟู ดูแล พัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งได้ดรับผลกระทบรุนแรงในช่วงโควิด แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู โดยเน้นการใช้สื่อที่เหมาะสมกับบริบทสังคมดิจิทัล
- เพื่อขยายเครือข่ายสื่อด้านปฐมวัย และเครือข่ายผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย อาทิ โรงเรียนอนุบาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อสม. ฯลฯ ให้เข้มแข็ง เสริมพลังเครือข่ายด้วยการส่งมอบสื่อ เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่กลุ่มเป้าหมาย
- เพื่อส่งเสริมนักสื่อสารรุ่นใหม่ให้ตระหนักในความสำคัญ และเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาที่กระทบเด็กปฐมวัย ได้มาร่วมคิดค้นสร้างสรรค์สื่อที่ตอบสนองพ่อแม่รุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล
- เพื่อรณรงค์ให้คนทั้งสังคมตระหนักในความสำคัญของปฐมวัย และเห็นปัญหาที่กระทบเด็กปฐมวัยหลังโควิด และร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูล ฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างจริงจัง เพื่อให้ปฐมวัยเป็นช่วงวัยฐานรากที่แข็งแกร่งของชีวิตพลเมืองในสังคมสูงอายุต่อไป
เป้าหมายการประชาสัมพันธ์
- พ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย
- ครู ผู้บริหารการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
- ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- สื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย
- นักสื่อสารรุ่นใหม่
กลุ่มเป้าหมายรอง
- ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย และสังคมทั่วไป
กรอบการดำเนินงานโครงการ
การพัฒนาเนื้อหาความรู้
- E-book 5 เรื่อง ความรู้ แนะนำเทคนิควิธี และ How-to ที่เข้าใจและนำไปใช้ได้ง่ายๆ
- 30 บทความ เนื้อหาน่ารู้ เพื่อสื่อสารในสื่อกระแสหลัก สื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายวิทยุ
- Infographic จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ชิ้น
- คู่มือปฐมวัยในวิถีชีวิตใหม่ สำหรับ อสม.
การพัฒนานักสื่อสารรุ่นใหม่
- รับสมัครนิสิต นักศึกษา ที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 3 ทีม
- จัดอบรมนักสื่อสารรุ่นใหม่ รูปแบบ Online
- จัดค่าย Online Workshop สำหรับนักสื่อสารรุ่นใหม่ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
การพัฒนาสื่อหลากหลายรูปแบบ
- นักสื่อสารรุ่นใหม่ ร่วมผลิตสื่อ VDO Clip และสื่อสร้างสรรค์ต่างๆ พร้อมจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ เผยแพร่และนำเสนอผลการประชาสัมพันธ์ที่น้อง ๆ ดำเนินการเผยแพร่ ไม่น้อยกว่า 2 ช่องทาง
**ทั้งนี้โครงการจะมอบเงินสนับสนุนการดำเนินงานผลิตสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับทีมที่ผ่านการคัดเลือก ทั้ง 3 ทีม ๆ ละ 60,000 บาท (รายละเอียด – ตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด)
เวทีเครือข่ายสื่อปฐมวัย
- เวทีประชุมเครือข่ายสื่อและผู้ทำงานด้านปฐมวัย รูปแบบ Online ร่วมเรียนรู้ ประเด็น
- การฟื้นฟูเด็กปฐมวัยวิถีใหม่
- การเชื่อและพัฒนาฐานข้อมูลเครือข่ายการสื่อสารปฐมวัย
- มอบสื่อแก่หน่วยงานหลักและเครือข่าย
- เวทีอบรมความรู้การฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่ แก่กลุ่มสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศที่สนใจ จำนวน 200 คน ระยะเวลา 1 วัน รูปแบบ Online
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- กิจกรรมแถลงข่าว
- การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ และสื่อต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในโครงการ
- การสุ่มประเมินความรู้ ความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย (ครอบครัว และครู) พร้อมประมวลผล เผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ของโครงการ
การรายงานผลการดำเนินการพร้อมข้อเสนอแนะ ต่อคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิริยาภรณ์ อุดมระติ
หัวหน้าโครงการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก อาจารย์พิเศษสาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดร.อัมพร วัฒนวงศ์
ที่ปรึกษาโครงการ
ประธานมูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูพัฒนาเด็กและครอบครัว (ฟอร์เด็ก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ
ที่ปรึกษาโครงการ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา คณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาเด็กปฐมวัย
นางสาวสุดใจ พรหมเกิด
ที่ปรึกษาโครงการ
ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และอนุกรรมการสื่อเพื่อการ พัฒนาเด็ก ในคณะกรรมการนโยบายกาพัฒนาเด็กปฐมวัย
ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์
ที่ปรึกษาโครงการ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล CEO, The S Curve และ อนุกรรมการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก ในคณะกรรมการนโยบายกาพัฒนาเด็กปฐมวัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ
ที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอนุกรรมการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก ในคณะกรรมการนโยบายกาพัฒนาเด็กปฐมวัย
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ
ที่ปรึกษาโครงการ
อาจารย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และอนุกรรมการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็ก ในคณะกรรมการนโยบายกาพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอเชิญคนไทยทุกคนร่วมเป็นแรงใจ สนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลโครงการ ความรู้ และร่วมรณรงค์การฟื้นฟูการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในวิถีชีวิตใหม่ เพื่อพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์ สมวัยของเด็กปฐมวัยไทยทุกคน
ข่าว และ กิจกรรม
ไม่พบผลลัพธ์
ไม่พบหน้าที่คุณค้นหา ลองปรับการค้นหาหรือใช้แผงควบคุมด้านบนเพื่อค้นหาโพสต์
โดยความร่วมมือของคณะอนุกรรมการสื่อเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มูลนิธิเพื่อการฟื้นฟูเด็กและครอบครัว(ฟอร์เด็ก)
เลขที่ 1035/7-10 อาคารบ้านฝันคอนโดวิลล์ ชั้น 1 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250